ภาวะความเป็นผู้นำ กับ อารมณ์

ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นความสามารถที่เชื่อมโยงกับความมีประสิทธิผลของมนุษย์  กล่าวว่าความฉลาดทางอารมณ์มีความสำคัญเป็นสองเท่าของความฉลาดทางสติปัญญา (IQ) รวมกับทักษะทางเทคนิคในการช่วยให้ทำงานได้สำเร็จ นอกจากนี้บุคคลยิ่งมีตำแหน่งสูงขึ้นในองค์การ ความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ยิ่งทวีตามความสูงของตำแหน่งนั้น ทั้งนี้ เพราะการมีทักษะและความเข้าใจทางอารมณ์ จะช่วยเป็นตัวขับเคลื่อนความคิดและการตัดสินใจตลอดจนการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่นของผู้นำ

                        Higgs และ Dulewicz (1999) นักวิจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ ได้ช่วยทำให้คำนิยามของคำว่าความฉลาดทางอารมณ์ ไว้ดังนี้

                        “ความฉลาดทางอารมณ์” หมายถึง การบรรลุเป้าหมายของบุคคล โดยใช้ความสามารถบริหารจัดการกับความรู้สึกและอารมณ์ตนเอง มีความสามารถรับรู้ได้ไว และมีอิทธิพลต่อบุคคลสำคัญอื่น ๆ และสามารถในการสร้างสมดุลของภาวะจูงใจและแรงขับของตนด้วยพฤติกรรมอย่างผู้มีสติสัมปชัญญะและมีจริยธรรม”

                        อย่างไรก็ตาม มีคำ 2 คำ ซึ่งพบว่ามักใช้แทนกันได้ คือ EQ (Emotional Quotient) และ EI (Emotional Intelligent) โดยเมื่อพูดถึง EI จะเกี่ยวข้องกับโครงสร้างด้านต่าง ๆ ของความฉลาดทางอารมณ์   ส่วน EQ มีความหมายเกี่ยวข้องกับผลที่ได้จากการวัดหรือประเมิน  EI  ซึ่งจะบอกให้ทราบระดับของความฉลาดทางอารมณ์ เช่นเดียวกับที่ IQ ชี้บ่งระดับความสามารถทางสติปัญญาที่ได้จากแบบทดสอบเชาวน์ปัญญา  

ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้นำตามแนวคิดของ Daniel Goleman

                        Goleman (2002) และคณะได้เขียนหนังสือชื่อ The New Leaders : transforming the art of leadership into the science of results.ได้กล่าวถึงความสำคัญของความฉลาดทางอารมณ์ที่มีต่อความมีประสิทธิผลของผู้นำ  4 ด้าน  ประกอบด้วย 18 สมรรถนะดังรายละเอียดดังนี้

สมรรถนะที่เกี่ยวกับตนเอง (Personal competence)

ประกอบด้วย ด้าน 1 และ ด้าน 2 เป็นสมรรถนะที่ผู้นำใช้เพื่อบริหารจัดการกับตนเอง  

1. ด้านความสามารถตระหนักรู้อารมณ์ตนเอง (Self – awareness)

1.1    สมรรถนะในการตระหนักรู้ตนเอง ( Emotional self – awareness ) 

1.2     สมรรถนะในการประเมินตนเองได้ถูกต้อง (Accurate self – assessment) 

1.3    สมรรถนะด้านความมั่นใจ ( Self – confidence)

2. ด้านความสามารถบริหารจัดการตนเอง (Self – management)

2.1 สมรรถนะในการควบคุมอารมณ์ตนเอง (Emotional self – control)

2.2 สมรรถนะด้านความโปร่งใส่ ( Transparency )

2.3 สมรรถนะด้านความสามารถปรับตัว ( Adaptability ) 

2.4 สมรรถนะด้านมุ่งผลสัมฤทธิ์ ( Achievement ) 

2.5 สมรรถนะด้านริเริ่ม ( Initiative )

2.6 สมรรถนะการมองโลกในแง่ดี ( Optimism )

สมรรถนะที่เกี่ยวกับสังคม (Social competence)

ประกอบด้วย ด้าน 3 และ ด้าน 4  เป็นสมรรถนะที่ผู้นำใช้เพื่อบริหารความสัมพันธ์กับผู้อื่นให้เกิดผลดี 

3. ด้านความตระหนักรู้ทางสังคม (Social awareness)

3.1 สมรรถนะในการเข้าใจผู้อื่น ( Empathy )

3.2 สมรรถนะความตระหนักรู้ด้านองค์การ ( Organizational  awareness )

3.3 สมรรถนะด้านการบริการ ( Service )

4. ด้านความสามารถบริหารจัดการความสัมพันธ์ (Relationship management)

4.1 สมรรถนะในการสร้างแรงดลใจ ( Inspiration )

4.2 สมรรถนะด้านอำนาจอิทธิพล ( Influence )

4.3 สมรรถนะในการพัฒนาผู้อื่น ( Developing others )

4.4 สมรรถนะการเป็นตัวเร่งการเปลี่ยนแปลง ( Change catalyst )

4.5 สมรรถนะในการบริหารความขัดแย้ง ( Conflict management )

4.6 สมรรถนะในการสร้างทีมงานและความร่วมมือ (Teamwork and collaboration )

 

….. Credit: https://www.gotoknow.org/posts/461062

Related Posts