Stem คือ เครื่องมือกดใดแนวตรง Stem ที่ออกแบบผลิตหรือการใช้อย่าง ไม่เหมาะสมจะทำให้ Stem ปริแตกได้ต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์นี้ เพราะ Stem ที่ปริแตกนั้นเป็นปัญหาร้ายแรงทำให้แม่พิมพ์เกิด ความชำรุดเสียหาย เสียเวลาในการผลิตและอาจเกิดการบาดเจ็บได้ จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องแจ้งให้ผู้ผลิตทราบถึงขนาดของแม่พิมพ์ และลักษณะการใช้งานเพื่อให้สามารถออกแบบได้อย่างเหมาะสม เพื่อรองรับแรงอัดในระดับสูงได้ การสำรวจกระบวนการผลิตโดยผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยแนะนำวิธีการใช้งานที่เหมาะสมต่อลูกค้า
หน้าที่การทำงาน
Stem ต้องทำงานซ้ำไปซ้ำมา และต่อเนื่องภายใต้โหลดที่มีแรงอัดสูงดังนั้น ชิ้นส่วนนี้จึงจำเป็นต้องอยู่ในระดับที่สมบูรณ์ เหมาะสมตลอดความยาวช่วงชักและหมั่นตรวจสอบระดับการวางแผนนี้เป็นประจำทุกสัปดาห์และเพราะ Stem ต้องความกดดันสูงโหลดจึงจำเป็นต้องอยู่ในลักษณะที่สม่ำเสมอ โหลดที่ไม่เท่ากันจะทำให้เกิดการโค้ง งอ หรือปริแตกได้ โหลดที่ไม่เท่ากันอาจมาจากหลายสาเหตุ เช่น การติดตั้งที่ไม่เหมาะสม แผ่นรับแรงกดดันที่ผิดรูป แม่พิมพ์ที่วางไม่ได้ระดับ ส่วนท้าย(Butt) ที่ติดขัด (ทำให้ต้องเปลี่ยนแม่พิมพ์) หรือเหล็กแท่งที่ไม่เหมาะสม ต้องใช้ความระมัดระวังเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์เหล่านี้ เนื่องจาก Stem สามารถปริแตกจนเกิดความเสียหายร้ายแรงได้
Material
Premium Forged AISI H13 (1.2344) เป็นวัสดุที่ใช้ผลิต Stem เป็นส่วนใหญ่ สำหรับกระบวนการอัดขึ้นรูป แบบสภาวะร้อน (Hot working) และแบบตีขึ้นรูป (Forged) การผลิต Stem ด้วยความร้อน คือ การให้ความร้อนที่อุณหภูมิสูง (Austenizing), ชุบลงของเหลวเพื่อให้เกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว (Quenching) และนำชิ้นงานไปอบ (Tempering) ให้มีความแข็งประมาณ 415-460 Brinell (Rockwell C44-48). ความแข็งแรงของ Stem ขึ้นอยู่กับความแข็งที่เกิดจากอุณหภูมิที่ต่อเนื่องของการผลิต และปราศจากความเค้นภายใน (Internal Stress)
Bayonet
Castool ใช้ Couping แบบ baynet สำหรับการล็อค Dummy Block ไว้กับ Stem ได้อย่างแน่นและรวดเร็ว ลักษณะดังกล่าวช่วยให้ขึ้นตอนการเปลี่ยน Block ที่อุณหภูมิสูงและร้อนมาก มีความคล่องตัวง่ายกว่าและรวดเร็วกว่าการใช้ Coupling แบบสกรูที่ใช้กันทั่วไป นอกจากนี้ยังมีการใช้ Stud เพื่อป้องกันการเคลื่อนตัวสำหรับการขึ้นรูปถึงทำให้ไม่มีปัญหาของการปรับแนวระดับของเครื่อง (Alignment) การเอาใจใส่ที่ดีในขั้นตอนการออกแบบและการผลิต Bayonet coupling ใน Stem จะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาความเค้นสูงของโลหะที่จะทำให้เกิดการแตกหักของ Stem
Spacer
ส่วนปลายของ Stem สามารถนำมาพัฒนาให้ดีขึ้นด้วยระบบ Bayonet ของ Castool โดยการติดตั้ง Spacer เข้ากับ Stem ที่ผ่านการตัดและขั้นตอนการทำช่องเกลียวสำหรับประกอบ Stud สิ่งสำคัญในการประกอบจะต้องให้ Spacer และ Stem ตรงตำแหน่งกันและไม่เกิดช่องว่างระหว่างกัน การป้องกันการเคลื่อนที่หมุนตัวของอุปกรณ์ทั้งสองจะใช้สลัก (Dowel Pin) ติดตั้งตามขนาดของ Stem และ Spacer การเกิดช่องว่าง Stem และ Spacer จะทำให้ Stud รับแรงกดอัดของก้านอัด (ram) อย่างเต็มที่ เกิดการปีนเกลียว ซึ่งยากต่อการถอดออกจากชิ้นส่วน
การบำรุงรักษา (Maintenance)
หลังจากผ่านการใช้งาน ด้านหน้าของ Stem จะถูกกดอัดและขยายตัวออก ในขณะเดียวกันแรงกดที่รุนแรง ซ้ำๆ ของ Dummy Block จะทำให้ด้านหน้าของ Stem แข็งขึ้นจนทำให้แตก ถ้าขาดการตรวจสอบที่ดีจะทำให้ส่งผลเสียหายไปถึงโครงสร้างของ Stem
ดังนั้นควรส่ง Stem กลับมาวิเคราะห์ด้วยเทคนิค Ultasonic ที่ Castool เพื่อตรวจสอบจำนวนและช่องความลึกของการแตก ถ้าจำเป็นต้องตัด Stem ให้สั้นลงจะมีการติดตั้ง Spacer เข้าไปแทน Stem จะต้องสามารถลดความเค้นได้อย่างสม่ำเสมอ โดยจะต้องสอดคล้องกับขนาดของการกดและจำนวนครั้งที่กด ตำแหน่งของ Stem ควรอยู่ในแนวดิ่งในเตาอบและให้ความร้อนระหว่าง 1000 F (550 C) ต่อชั่วโมง – 10000 F (5400 C) หลังจากนั้นให้ควบคุมอุณหภูมิประมาณ 1 ชั่วโมงต่อ 1 นิ้ว (25 มม.) ของเส้นผ่านศูนย์กลางของ Stem แล้วนำ Stem ออกจากเตาและให้เย็นตัวลงที่อุณหภูมิห้อง
ความถี่ของการคลายความเค้น
แรงดัน การกด
180,000-200,000 psi 20,000-30,000
160,000-180,000 psi 30,000-40,000
130,000-160,000 psi 40,000-50,000
100,000-130,000 psi 50,000-60,000
<100,000 psi 100,000 วงรอบ