Product update Die Cast

กระบอกสูบ (Shot Sleeve)

กระบอกสูบสำหรับงานในสภาวะอุณหภูมิสูง (HT Shot Sleeve-High Temperature)

วัสดุ 1.2367M ESR เป็นเหล็กที่ขึ้นรูปร้อนด้วยคุณสมบัติที่เหนือกว่า  และทนความร้อนได้ 630 C ในขณะที่วัสดุ 1.2344 (SKD-61) ทนอุณหภูมิได้เพียง 585 C เมื่อนำวัสดุ 1.2367M เข้าสู่กระบวนไนไตร์ด้วย Gamma Prime Nitride แล้ว จะทำให้เพิ่มคุณสมบัติในการทนความร้อนที่อุณหภูมิสูง ถึง 680 C ในขณะวัสดุอื่นที่ผ่านกระบวนการทำไนไตร์โดยทั่วไป ทนความร้อนได้เพียง 598 C

การเชื่อมผิวภายในของกระบอกสูบ (BW Shot Sleeves-Bore Welded)

เราได้พัฒนากระบอกสูบชนิดใหม่ ด้วยการใช้วัสดุประเภท 4340 ที่มีความแข็งขั้นต้น (Pre-hard) และเคลือบด้วยชั้นวัสดุ 1.2367M โดยวัสดุ 4340 มีคุณสมบัติที่ดีทั้งในส่วนการนำความร้อน (Thermal Conductivity) ความต้านทานต่อการแตกร้าว (Fracture toughness) ความยาวของรอยร้าววิกฤติ (Critical Crack Length) ขอบเขตความล้า (Fatigue limit) และมีความเค้นทางความร้อนที่น้อยกว่าวัสดุประเภท H-13 หรือ H-11 สำหรับ 1.2367 จะยังช่วยป้องกันโครงสร้างของอุปกรณ์ที่อุณหภูมิ 630 C ซึ่งนำ Gamma Prime Nitride เข้าใช้งานด้วย

การเพิ่ม/ไม่เพิ่ม คุณสมบัติการควบคุมแบบองค์รวมของกระบอกสูบ (TC and TCI Shot Sleeves-Total Control with/without insert)

การเพิ่มคุณสมบัติควบคุมแบบองค์รวมของกระบอกสูบ คือ สิ่งที่ดีที่สุดของการควบคุมของ Castool วัสดุจำพวก 4340 มีการเจาะช่องการหล่อเย็น เพื่อให้น้ำมัน หรือน้ำ ช่วยรักษาระดับอุณหภูมิให้คงที่อย่างมีประสิทธิภาพตลอดแนวกระบอกสูบ สำหรับพื้นผิวภายใน จะเชื่อมด้วยวัสดุ 1.2367M และเพิ่มคุณสมบัติด้วยการทำ Gamma Prime Nitride หลังจากที่มีการขัดผิวเสร็จเรียบร้อยแล้ว วัสดุ 1.2367M ที่เพิ่มเข้าไป สามารถเพิ่มในพื้นที่ช่องการเทน้ำอลูมิเนียม เพื่อยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น

การนำกระบอกสูบให้กลับมาใช้งานได้ใหม่ (Shot Sleeve Refurbishing-Bore Welding)

กระบอกสูบปริมาณมากมายมหาศาลจะถูกนำมาขยายขนาดรู และเชื่อมภายในรูด้วยวัสดุ 1.2367 และทำให้มีขนาดของรูกลับมาเท่ากับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเดิม โดยแบ่งตามสัดส่วนของขนาดกระบอกสูบเดิมทำให้มีคุณสมบัติที่ทนทานกว่า เนื่องจากผิวการเชื่อมสามารถทนความร้อนที่อุณหภูมิสูงได้ถึง 630 C จากที่เคยทนได้เพียง 585 C ทั้งนี้ยังมีการนำไปเข้าสู่กระบวนการทำไนไตร์ (Gamma Prime Nitride) 

ลูกสูบ (Plunger Tips)

ลูกสูบประเภท (ABP-Allper Bushing Plunger)

ลูกสูบประเภทนี้ นำมาใช้งานแทนลูกสูบทั่วไปที่เป็นเหล็ก (Steel) และสามารถขึ้นรูปได้ทุกสภาวะ มีระยะเวลาคุ้มทุนได้รวดเร็ว อายุการใช้งานของลูกสูบ (Plunger) มากขึ้น การหล่อขึ้นรูปชิ้นงานมีคุณภาพที่สูงขึ้นและลดระยะเวลาต่อรอบการผลิตลง

ลูกสูบประเภท (AMP-Allper Modulae Plunger)

ความสามารถในการนำความร้อนของลูกสูบแบบ AMP-R สูงกว่าลูกสูบเหล็กทั่วไปถึง 6 เท่า บริเวณผิวด้านหน้าของลูกสูบมีอุณหภูมิต่ำกว่า และมีค่าการขยายตัวทางความร้อนน้อยกว่าลูกสูบเหล็กทั่วไปด้วย การที่มีค่าการขยายตัวทางความร้อนต่ำ หมายถึง ความเค้นทางความร้อนในระหว่างหล่อขึ้นรูปจะต่ำด้วยความเค้นทางความร้อนของลูกสูบ AMP คิดเป็น 1 ใน 3 ของลูกสูบทั่วไปและยังถ่ายเทความร้อนออกมาได้ถึง 65% ซึ่งเร็วกว่าลูกสูบทั่วไป ผลของการถ่ายเทความร้อนออกมาได้รวดเร็วทำให้รอบเวลาโดยรวมของการหล่อขึ้นรูปลดลง

ระบบการหล่อลื่นลูกสูบ (Plunger Lubrication)

ALD 

สารหล่อลื่นประเภทนี้ใช้หล่อลื่นโดยตรงบริเวณด้านบนของแหวนลูกสูบด้วยปริมาณน้อย ซึ่งช่วยลดการเสียดทานได้ดีระหว่าง กระบอกสูบและลูกสูบ

ACL

สารหล่อลื่นประเภทนี้ใช้หล่อลื่นโดยตรงบริเวณด้านบนของแหวนลูกสูบและภายในรูกระบอกสูบด้วยปริมาณน้อย

Lubrication 192

เป็นสารหล่อลื่นลูกสูบจำพวก น้ำมันสังเคราะห์ Boron Nitride ที่ทนทานความร้อนที่อุณหภูมิสูงราคาย่อมเยา

Related Posts